ป้องกันไว้ก่อน! เปิดวาร์ป 9 เคล็ดลับ อาหารต้านมะเร็ง-ห่างไกลโรคร้าย สายเฮลตี้ต้องลอง!

ป้องกันไว้ก่อน! เปิดวาร์ป 9 เคล็ดลับ อาหารต้านมะเร็ง-ห่างไกลโรคร้าย สายเฮลตี้ต้องลอง!


หากพูดถึงโรคมะเร็ง ก็นับเป็นโรคอันตรายที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่วงการสาธารณสุขทั่วโลก โดยสถิติทั่วโลกในปี 2012 พบว่า จากจำนวนประชากร 7 พันกว่าล้านคน พบอัตราการตายจากโรคมะเร็งสูงถึง 8.2 ล้านคนทั่วโลก โดยผู้ชายพบเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดและผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด และมีผู้ป่วยมะเร็งใหม่เพิ่มขึ้น 14.1 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยในปีเดียวกัน จากจำนวนประชากรเกือบ 67 ล้านคน พบผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งสูงถึง 63,272 คน โดยพบมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมในเพศชายและเพสหญิงสูงสุดตามลำดับ 

 


และในวันนี้ (12 ธ.ค. 60 ) ทางเราจึงได้นำ 9 เคล็ดลับ 9สู่ความสำเร็จอาหารต้านมะเร็ง ที่จะเป็นตัวเลือกให้คุณผู้อ่านหลายๆท่านได้ลองทำตามกัน เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง แถมยังช่วยต้านภัยจากโรคร้ายได้อีกด้วย ได้แก่ 
1. กินผักหลากสีทุกวัน สีสันของผักนอกจากจะดูสวยงามสะดุดตาแล้ว ผักแต่ละสีแต่ละชนิดยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและให้คุณค่าที่ แตกต่างกันไปดังนั้นการรับประทานผักหลากหลายหรือรับประทานให้ครบทั้ง 5 สี จะเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ตัวอย่างของผักและสารสีต่าง ๆ ได้แก่
1. สารสีแดง ได้แก่ มะเขือเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด
มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด
2. สารสีเหลือง/ส้ม ได้แก่ ฟักทอง แครอท มีสารแคโรทีนอยด์ (β-Carotene)และอุดมไปด้วยวิตามินเอ
3. สารสีเขียวได้แก่ คะน้า บล็อคโคลี่ อุดมไปด้วยวิตามินซี รวมถึงผักบุ้ง กวางตุ้ง ต าลึง ที่มีวิตามินเอและพิกเมนต์
4. สารสีม่วง ได้แก่ กะหล่ำสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง สีม่วงในดอกอัญชัน พืชผักเหล่านี้มีสาร Anthocyanin ที่
สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
5. สารสีขาวได้แก่ มะเขือขาวเปราะ ผักกาดขาว ดอกแค โดยเฉพาะยอดแคมีเบตาแคโรทีนสูง

2. ขยันหาผลไม้เป็นประจำ ผลไม้ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์รวมทั้งยังมีเส้นใยอาหารที่ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบการขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ ตัวอย่างเช่น ส้ม สับปะรด มะละกอ มะม่วง ที่ มีทั้งวิตามินเอ ซี สารเบตาแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ผลไม้ยังมีเส้นใยที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายท างานได้อย่างปกติ

 

 

3. ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย ธัญพืชเต็มเมล็ด คือ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น ใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ไฟโตนิวเตรียนท์ และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ตัวอย่างของธัญพืช ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย นอกจากนี้ไฟเบอร์หรือใยอาหารในธัญพืชยังทำหน้าที่สำคัญในการพาสารต่าง ๆ ที่เป็น โทษต่อร่างกายซึ่งเกาะติดบริเวณลำไส้ให้ขับถ่ายออกไป จึงมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในทางเดิน อาหารและมะเร็งในลำไส้ใหญ่

 

 

4. ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร เครื่องเทศ หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ของพืชที่นำมาใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารหรือเพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอมสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นกลิ่นหอมของเครื่องเทศนั้นมาจากส่วนที่เป็นน้ำมัน (Fixed oil) และน้ำมันหอมระเหย(Volatile oil) ส่วนรสชาติที่เผ็ดร้อนนั้นมาจากส่วนที่เป็นยาง (Resins) นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ อีกเช่น แป้ง น้ำตาล แร่ ธาตุ และวิตามินบางชนิด เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องเทศยังประกอบไปด้วยสารหลายชนิดซึ่งมีสรรพคุณลดความเสี่ยงใน การเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้
 



5. เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
ชาเขียว (Green Tea)
ใบชาเขียวได้มาจากการน ายอดใบชาสดมาผ่านกระบวนการอบเพื่อลดความชื้นโดยไม่ผ่านการหมัก ชาเขียวมี
สาร Catechins ที่ชื่อ epigallo-catechin-3-gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ สารดังกล่าว สามารถ
ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ
หมายเหตุ ควรดื่มชาเขียว ทันทีหลังจากชงชาเสร็จเนื่องจากหากทิ้งไว้ชาเขียวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำ
ให้สูญเสียคุณค่าไป
น้ำ (Water)
น้ำดื่มที่สะอาดและบริสุทธิ์ มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับมนุษย์การดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอใน
แต่ละวันจะทำให้ร่างกายเราได้รับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
น้ำเป็นสารตัวกลางสำคัญของร่างกายที่ใช้ในขบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ เช่น ควบคุมสมดุลกรด-ด่าง และยัง
นำพาสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่เซลล์ ตลอดจนนำของเสียหรือสารพิษออกจากเซลล์

 

 

6. อย่าละลืมปรุงอาหารถูกวิธี
วิธีการปรุงอาหารที่ถูกต้องถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ได้แก่
1. ไม่ปิ้งย่างอาหารประเภทเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียม
2. ไม่รับประทานอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด
3. ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

7. หลีกหนีอาหารไขมัน ไขมันในอาหารมีทั้งไขมันดีและไขมันเลว หากร่างกายมีไขมันเลวปริมาณมากอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
ไขมันเลว ได้แก่ คลอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ LDL ไขมันอิ่มตัว ซึ่งจะพบมากในพวก นม เนย ชีส กะทิ ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน และน้ำมันทอดซ้ำเป็นต้น 
ไขมันดี ได้แก่ไขมันไม่อิ่มตัว เลซิติน HDL พบมากใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย
น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกทานตะวัน และในปลา เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาจาระเม็ด เป็นต้น 

 

 

8. หมั่นลดบริโภคเนื้อแดง เราควรจำกัดการรับประทานเนื้อแดงให้เหลือเพียงสัปดาห์ละ 500 กรัม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ลำไส้ ผู้ที่บริโภคเนื้อแดงมากกว่า 160 กรัมต่อวัน อาจมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น 

 

 

9. เกลือแกงอาหารหมักดองต้องน้อยลง เราควรบริโภคเกลือ (salt) ไม่เกิน วันละ 6กรัม ซึ่งมีโซเดียม (sodium) อยู่ประมาณ 2,300 มิลลิกรัม การบริโภคเกลือในปริมาณสูงจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรืออาหารประเภทหมักดองโดยเฉพาะที่มีการถนอมอาหารหรือปรุง แต่งสีด้วยดินประสิว เช่น ปลาร้า ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจมีสารก่อ มะเร็งไนโตรซามีน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีแดงผิดจากธรรมชาติ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ /  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 






ติดต่อ โฆษณา

Contact : Click Marketting -

Clicknews-tv.net